อันตรายของพลุแฟลร์ พิษร้ายที่ควรกำจัดจาก "ฟุตบอลไทย"

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดเผยบทความ ความอันตรายของพลุแฟลร์ ถึงเวลาที่ต้องขจัดพิษร้ายให้หมดไปจากฟุตบอลไทย

พลุแฟลร์ที่ถูกจุดขึ้นในสนามฟุตบอลไม่ได้สร้างความสวยงามให้แก่เกมลูกหนังแต่อย่างใด ในทางกลับกันมันยังสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อวงการฟุตบอลรวมถึงแฟนบอลที่เข้ามาชมเกมอย่างมหาศาล

เม็ดเงินกว่า 4,500,000 บาท ที่สามารถใช้พัฒนาฟุตบอลไทยได้มากมาย กลับต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เพื่อจ่ายเป็นค่าปรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ค่าปรับดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

เพราะพิษร้ายของมันยังมีอีกหลายสิ่งที่จะตามมา และหากไม่ขจัดเนื้อร้ายตั้งแต่วันนี้ ในอนาคตอาจมีแฟนบอลผู้บริสุทธิ์ต้องเคราะห์ร้ายจากมันก็เป็นได้

พิษร้ายของพลุแฟลร์
พลุแฟลร์ หรือ พลุส่งสัญญาณแบบถือ (Red Hand Flare) ที่ถูกนำมาจุดในสนามฟุตบอลนั้น ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสร้างความบันเทิงหรือความสวยงามแต่อย่างใด
มันถูกออกแบบมาเพื่อใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน หรือใช้ส่งสัญญาณทางการทหาร โดยแสงสีแดงของมันจะช่วยในการแสดงพิกัดของผู้ใช้ เช่นกรณีเรืออับปาง ติดอยู่ในป่า หรือลอยคออยู่กลางทะเล

การจุดพลุแฟลร์แต่ละครั้ง นอกจากแสงสีแดงซึ่งเป็นประกายไฟแล้ว ยังก่อให้เกิดกลุ่มควันก้อนโตที่ฟุ้งกระจายไปทั่วในอากาศ ดังนั้นจึงต้องใช้ในสถานที่เปิดและโล่งกว้างเท่านั้น หากจุดในสถานที่ปิดหรือมีคนจำนวนมากอยู่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนรอบข้างหรือคนที่อยู่ใต้ลมได้
แสงสีแดงและควันเหล่านั้นล้วนเกิดจากการเผาไหม้ของส่วนผสมหลายอย่างอันเป็นองค์ประกอบในการทำดอกไม้ไฟ จึงเต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายมากมาย
อาทิ โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว และโพแทสเซียมเปอร์คลอเรต ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟ หากสัมผัสจะมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซที่ออกมาจากการเผาไหม้ หรือกำมะถัน ทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจลามไปถึงปอด แบเรียมไนเตรต ที่ช่วยในการก่อตัวของดินปืนที่กระพริบซึ่งใช้ประกอบวัตถุระเบิดและดอกไม้ไฟ อันเป็นสารอันตรายที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจและอวัยวะภายใน ไปจนถึงอัมพาตและเสียชีวิตได้ได้หากสูดดม ไม่นับรวมเชื้อเพลิงและธาตุโลหะต่าง ๆ ที่ถูกผสมเข้าไปอย่าง ชาร์โคล, อะลูมิเนียม, แมกนีเซียม หรือเรซินโพลิเมอร์ ซึ่งหากใช้งานผิดวิธีหรือสูดดมเป็นระยะเวลานานมีโอกาสที่จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งกระดูกได้ สารเคมีเหล่านี้ล้วนถูกบรรจุอยู่ในพลุแฟลร์ แม้จะไม่ได้สัมผัสหรือสูดดมโดยตรง แต่ควันและการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นก็มีโอกาสที่จะทำให้สารเคมีเหล่านี้หลุดรอดออกมาส่งผลกระทบต่อผู้คนได้ ยิ่งหากผู้ที่แพ้สารเคมีหรือเป็นโรคหอบหืดได้รับผลกระทบเข้าไปก็ยิ่งทวีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น อาจมีอาการหายใจไม่ออก อาเจียน ท้องร่วง ไปจนถึงเสียชีวิตได้เลย ที่สำคัญพลุแฟลร์ส่วนมากจะมีอายุการใช้งาน โดยนับจากวันที่ผลิตออกจากโรงงานประมาณ 3 ปี หากเกินกว่านั้นก็จะเสื่อมประสิทธิภาพในการป้องกันความอันตรายจากสารเคมีที่อยู่ภายใน ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าพลุแฟลร์ที่นำมาจุดในสนามฟุตบอลนั้นเป็นของคุณภาพต่ำหรือหมดอายุแล้วหรือยัง นอกจากนี้หากมีการนำไปใช้ขว้างปาหรือหล่นใส่คนรอบข้าง ความอันตรายของมันก็ส่งผลถึงชีวิตได้เช่นกัน เหมือนหลายเคสที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

แฟนบอลเสียชีวิต
พลุแฟลร์แบบถือเป็นเพียงแค่รูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่แฟลร์ยังมีอีกหลายประเภท ทั้งแบบที่จุดแล้วพุ่งขึ้นฟ้า ไปจนถึงการใช้ปืนยิงขึ้นไป ซึ่งทุกอย่างล้วนสร้างความอันตรายและส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างทั้งสิ้น
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในวงการฟุตบอลทั่วโลก มีเหตุสลดที่แฟนบอลผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียชีวิตมาแล้วหลายราย
แฟนบอลโครินเธียนส์ ปาฟลุแฟลร์ใส่กองเชียร์ทีมเยือนซาน โฮเซ่ จนพุ่งเข้าตาเด็กวัย 14 ปี เสียชีวิตทันทีบนอัฒจันทร์ ในเกม ลิเบอร์ตาโดเรส คัพ ปี 2013 ก่อนจะจับกุมผู้ลงมือได้ 12 รายในข้อหาฆาตกรรม
บุรุษไปรษณีย์วัย 67 ปี เสียชีวิตต่อหน้าลูกชายหลังโดนเปลวไฟจากแฟลร์แบบจรวดเจาะเข้าที่คอโดยชาย 2 คนที่จุดยิงไปทั่วสนาม ในเกมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ระหว่าง เวลส์ พบ โรมาเนีย เมื่อปี 1993
เด็กชายชาวสเปนวัยเพียง 13 ปี ต้องเสียชีวิตจากการโดนเปลวไฟของพลุแฟลร์ที่หน้าอกในการเข้าชมเกมฟุตบอลครั้งแรกในชีวิต ที่สนามของเอสปันญอล เมื่อปี 1992
นี่คือตัวอย่างข้างต้นเท่านั้น ไม่นับรวมความวุ่นวายอื่น ๆ เช่น มีคนโยนแฟลร์ใส่ อิกอร์ อคินเฟเยฟ ผู้รักษาประตูทีมชาติรัสเซีย จนเผาด้านหลังของศีรษะ, การปาแฟลร์ลงสนามจนหญ้าเสียหาย, หรือแฟนบอลบางรายที่จุดแฟลร์แล้วระเบิดใส่มือตัวเองจนแหลก
พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เคยสำรวจความคิดเห็นของแฟนบอล 1,635 ราย พบว่า 1 ใน 3 ของแฟนบอลได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจุดพลุแฟลร์ในสนาม มี 24% ที่ถูกบดบังการมองเห็น, 10% ได้รับความทรมานจากการสูดดมควัน และ 2% ได้รับผลกระทบจากความร้อนของเปลวไฟ ขณะที่มีผู้ปกครองถึง 2 ใน 3 กังวลจนไม่อยากพาลูก ๆ มาด้วย
สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้กำชับแก่สมาชิกทั่วโลกและออกกฎห้ามนำพลุแฟลร์เข้าไปในสนามเด็ดขาด พร้อมมีบทลงโทษที่ชัดเจนทั้งในวงการฟุตบอลและกฎหมายในประเทศ

ทำผิดติดคุก
ในรอบ 10 ปีที่ผ่ายมา ประเทศไทยถูกสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (AFF) ลงโทษปรับเงินจากกรณีมีคนจุดพลุแฟลร์ในสนามมาแล้วถึง 4 ครั้ง รวมเป็นเงินกว่า 4,500,000 บาท ไม่นับรวมอีกหลายครั้งที่รอดพ้นสายตาไปได้
บทลงโทษปรับเงินนี้เป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น หากยังคงกระทำผิดต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะโดนสั่งห้ามแฟนบอลเข้าสนาม ปิดสนามแข่งขันบางส่วนหรือทั้งหมด ไปจนถึงต้องเล่นสนามกลาง และห้ามประเทศไทยจัดการแข่งขันรายการต่าง ๆ ในเกมระดับนานาชาติ อันนำมาซึ่งโอกาสและผลประโยชน์ที่ต้องเสียไปมากมาย
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย จึงต้องเอาจริงและดำเนินการอย่างเด็ดขาดด้วยการจับตัวผู้ทำผิดมารับโทษให้เป็นแบบอย่าง จนนำมาซึ่งการออกหมายจับ กลุ่มคน 24 ราย ที่จุดพลุแฟลร์ในรายการ AFF CUP 2022 รวมถึงรายการอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้น
การกระทำดังกล่าวนอกจากจะผิดระเบียบของฟีฟ่าและเอเอฟซีแล้ว ยังเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายในประเทศไทย กรณีวางเพลิงเผาทรัพย์ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ด้วยเช่นกัน ทางสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จึงยืนยันที่จะใช้สิทธิ์ตามกฏหมายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้เกี่ยวข้องเต็มจำนวน
นอกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิง เผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000-14,000 บาท โดยหากเป็นเพียงมีรอยเกรียมดำ หรือรอยเขม่าดำ ก็ยังคงเป็นความผิดฐานพยายามวางเพลิงเผาทรัพย์ ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วน
รวมถึง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธ พ.ศ. คำพูดจาก ออนไลน์ สล็อต 2490 ซึ่งหมายรวมถึง พลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใด อันมีสภาพคล้ายคลึงกัน โดยมีโทษทั้งจำคุก และปรับเงิน ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เช่น หากนำดอกไม้เพลิงมาโยนใส่กันโดยมีเจตนาให้ผู้อื่นบาดเจ็บ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากอันตรายสาหัส เพิ่มโทษเป็น 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 10,000-200,000 บาท

บรรทัดฐานใหม่ฟุตบอลไทย
พิษร้ายของพลุแฟลร์ที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากเนื้อร้ายที่อยู่ในฟุตบอลไทย ทางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย จึงเชื่อมั่นว่าการรวบรวมหลักฐานหาผู้กระทำผิดมารับโทษในครั้งนี้ จะช่วยสร้างบรรทัดฐานใหม่แก่วงการฟุตบอลไทยได้อย่างแน่นอน
ผู้กระทำผิดจะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำลงไป และรับผิดชอบกับผลประโยชน์ที่ชาติและฟุตบอลไทยต้องสูญเสียไปด้วยตนเอง เพื่อเป็นแบบอย่างและย้ำเตือนแก่ผู้ที่จะก่อเหตุในอนาคตให้ได้รู้ถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา
นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังเตรียมเพิ่มมาตรการในการตรวจค้นผู้ที่จะเข้าสนามให้เข้มงวดยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่หรือจุดอับต่าง ๆ ซึ่งอาจถูกใช้เป็นที่ซ่อนอุปกรณ์ต้องห้ามบริเวณโดยรอบสนามทั้งหมด
ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับแฟนบอลทุกคนที่เดินทางมาเชียร์ทีมชาติไทยที่สนาม ไม่ว่าจะมากพร้อมครอบครัว เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ให้ทุกคนได้ส่งกำลังใจเชียร์นักฟุตบอลอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีภัยอันตรายมารบกวน
แล้วความสุขในการเชียร์บอลของพวกเราจะกลับมาอีกครั้ง

ที่มา: เพจ

อันตรายของพลุแฟลร์ พิษร้ายที่ควรกำจัดจาก "ฟุตบอลไทย"

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดเผยบทความ ความอันตรายของพลุแฟลร์ ถึงเวลาที่ต้องขจัดพิษร้ายให้หมดไปจากฟุตบอลไทย พลุแฟลร์ที่ถูกจุดขึ้นในสนามฟุตบอลไม่ได้สร้างความสวยงามให้แก่เกมลูกหนังแต่อย่างใด ในทางกลับกันมันยังสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อวงการฟุตบอลรวมถึงแฟนบอลที่เข้ามาชมเกมอย่างมหาศาล เม็ดเงินกว่า 4,500,000 บาท ที่สามารถใช้พัฒนาฟุตบอลไทยได้มากมาย กลับต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เพื่อจ่ายเป็นค่าปรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ค่าปรับดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะพิษร้ายของมันยังมีอีกหลายสิ่งที่จะตามมา และหากไม่ขจัดเนื้อร้ายตั้งแต่วันนี้ ในอนาคตอาจมีแฟนบอลผู้บริสุทธิ์ต้องเคราะห์ร้ายจากมันก็เป็นได้ พิษร้ายของพลุแฟลร์ พลุแฟลร์ หรือ พลุส่งสัญญาณแบบถือ (Red Hand Flare) ที่ถูกนำมาจุดในสนามฟุตบอลนั้น ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสร้างความบันเทิงหรือความสวยงามแต่อย่างใด มันถูกออกแบบมาเพื่อใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน หรือใช้ส่งสัญญาณทางการทหาร โดยแสงสีแดงของมันจะช่วยในการแสดงพิกัดของผู้ใช้ เช่นกรณีเรืออับปาง ติดอยู่ในป่า หรือลอยคออยู่กลางทะเล การจุดพลุแฟลร์แต่ละครั้ง นอกจากแสงสีแดงซึ่งเป็นประกายไฟแล้ว ยังก่อให้เกิดกลุ่มควันก้อนโตที่ฟุ้งกระจายไปทั่วในอากาศ ดังนั้นจึงต้องใช้ในสถานที่เปิดและโล่งกว้างเท่านั้น หากจุดในสถานที่ปิดหรือมีคนจำนวนมากอยู่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนรอบข้างหรือคนที่อยู่ใต้ลมได้ แสงสีแดงและควันเหล่านั้นล้วนเกิดจากการเผาไหม้ของส่วนผสมหลายอย่างอันเป็นองค์ประกอบในการทำดอกไม้ไฟ จึงเต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายมากมาย อาทิ โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว และโพแทสเซียมเปอร์คลอเรต ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟ หากสัมผัสจะมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซที่ออกมาจากการเผาไหม้ หรือกำมะถัน ทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจลามไปถึงปอด แบเรียมไนเตรต ที่ช่วยในการก่อตัวของดินปืนที่กระพริบซึ่งใช้ประกอบวัตถุระเบิดและดอกไม้ไฟ อันเป็นสารอันตรายที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจและอวัยวะภายใน ไปจนถึงอัมพาตและเสียชีวิตได้ได้หากสูดดม ไม่นับรวมเชื้อเพลิงและธาตุโลหะต่าง…